วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า (Hybrid and Electric Cars)


ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนได้สร้างแรงกดดันให้ทุกประเทศในโลกต้องมีมาตรการลดการใช้พลังงานฟอสซิล

นอกจากนี้ความจำเป็นที่ต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงกดดันให้ประเทศต่างๆ ลดการใช้น้ำมันลง โดยการ


(1) จัดหาพลังงานอื่นๆ เพื่อทดแทนน้ำมันในการขนส่ง


(2) พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบอื่นๆ ในการขนส่ง

   รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ทำให้แบตเตอรี่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น มีส่วนช่วยเร่งพัฒนาการของรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ซึ่งมีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้ว

   จากแนวโน้มของพัฒนาการทางเทคโนโลยีและยอดขายรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะมีบทบาทสำคัญนอกจากจะแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนแล้ว ยังจะทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นเพราะลดการปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศอย่างมาก

แหล่งพลังงานที่สามารถทดแทนน้ำมันได้ในการขนส่ง

   แหล่งพลังงานที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลในการขนส่งทางถนนมีหลายประเภทดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซธรรมชาติ (CNG) 
   ก๊าซธรรมชาติถือว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาด เพราะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงประมาณ 50% แต่ต้องใช้ถังบรรจุก๊าซที่ใหญ่และหนักขึ้น

(2) เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) 
เชื้อเพลิงชีวภาพที่สำคัญคือ เอทานอล และไบโอดีเซล สำหรับเอทานอลนั้นหากมีการใช้ในสัดส่วนที่สูง
จะต้องมีการปรับเครื่องยนต์ที่จะใช้ด้วย


(3) พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าสามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้ใน 2 แนวทางคือ

แนวทางแรก คือใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันในรถลูกผสมหรือรถไฮบริด โดยรถไฮบริดต้องใช้ทั้ง
เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า

แนวทางที่สอง   คือใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวโดยผ่านมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งขับเคลื่อนโดยแบตเตอรี่ในรถยนต์
ไฟฟ้า ซึ่งได้มีการใช้มานานแล้ว แต่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเก่ามีข้อจำกัดด้านระยะทางที่ขับเคลื่อนได้จากการชาร์จไฟฟ้าแต่ละครั้ง และใช้เวลาชาร์จนาน นอกจากนี้ยังบรรทุกน้ำหนักอื่นได้น้อย เพราะต้องบรรทุกแบตเตอรี่ที่หนักมาก รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่มีแบตเตอรี่ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่เก็บพลังงานได้มากขึ้นมาก และแก้ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้าแบบเก่าได้หมด

(4) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) 

   ก๊าซไฮโดรเจนมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เผาไหม้แล้วได้ไอน้ำ แต่ไฮโดรเจนไม่มีอยู่ด้วยตัวเองใน
ธรรมชาติ แต่จะรวมตัวกับสารอื่นเป็นสารประกอบ เช่น น้ำ (H2O), ก๊าซธรรมดา, เมทานอล (CH3OH) เป็นต้น ดังนั้นหากจะใช้ก๊าซไฮโดรเจนจะต้องผลิตจากสารประกอบที่มีก๊าซไฮโดรเจนผสมอยู่

   การที่จะใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล จะต้องใช้เซลล์เชื้อเพลิง
(Fuel Cell) (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานใหม่) เป็นเครื่องต้นกำลัง และรถที่มีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นเครื่องต้นกำลังเรียกว่า รถเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicles)


รถไฮบริด (Hybrid Cars)


   รถไฮบริดหรือรถลูกผสมจะใช้ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงานของระบบ ทั้งนี้พลังงานที่ต้องสูญเสียของเครื่องยนต์ เช่น ขณะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว จะถูกนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และถูกนำออกมาช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์เพื่อลดการใช้น้ำมันลง นอกจากนี้การลดการใช้น้ำมันเกิดขึ้นจากการเดินเครื่องยนต์ที่ระดับความเร็วรอบที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ พลังงานจากเครื่องยนต์ที่เกินความต้องการจะถูกนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้า และในกรณีที่ความต้องการใช้พลังงานของรถมากกว่าที่เครื่องยนต์ผลิตได้ รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เสริม 



 รถไฮบริดมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยหลักการทำงานของรถไฮบริดปรากฏดังรูป

   แสดงส่วนประกอบหลักของรถยนต์ Hybrid ของรถ Toyota Prius รุ่นปี 2003

   รถยนต์ไฮบริดต้องมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่าแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาและใช้แบตเตอรี่แบบใหม่ที่เก็บพลังงานไฟฟ้า 
ได้มาก และมีระบบควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน รถไฮบริดจะประหยัดพลังงานได้ระหว่าง 10-50% แล้วแต่ประเภทของไฮบริดและลักษณะของการขับว่าเป็นการขับในเมืองหรือระหว่างเมือง ซึ่งรถไฮบริดจะประหยัดน้ำมันได้มากเมื่อขับในเมือง

     รถไฮบริดได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยบริษัทโตโยต้า และเริ่มพัฒนาเมื่อกลางทศวรรษ 1980 ในขณะที่น้ำมันยังมีราคาถูกมาก และได้เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997

    การพัฒนารถไฮบริดของโตโยต้าทำให้บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของชาติตะวันตกแปลกใจมาก เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็น รถไฮบริดรุ่นแรกของโตโยต้าชื่อ พริอุส (Prius) มีราคาแพงกว่ารถธรรมดาขนาดเท่ากันกว่า 200,000 บาท รถพริอุส ถือว่าเป็น Ecocar และได้รับความนิยมมากเกินความคาดหมายในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก และได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสของสภาวะโลกร้อนและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

    รถพริอุสมียอดขายสะสมจนถึงปัจจุบันกว่า 1 ล้านคัน และปัจจุบันมียอดขายปีละกว่า 1 แสนคัน ยอดขายรถไฮบริดทั้งหมดของโตโยต้า (พริอุส แคมรี่ เล็กซัส และไฮแลนเดอร์) สูงถึงประมาณ 1,600,000 คัน

    บริษัทฮอนด้าได้ให้ความสำคัญต่อรถไฮบริดโดยพัฒนารถไฮบริดรุ่นแรกชื่อ อินไซท์ (Insight) เมื่อปี 2001 และต้องเลิกผลิตใน 2-3 ปีต่อมาเนื่องจากความต้องการไม่สูงพอ แต่ปัจจุบันบริษัทฮอนด้าได้หันกลับมาผลิตรถไฮบริดแอคคอร์ด, ซิวิค และอินไซท์ และเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รถไฮบริดของฮอนด้าได้ประกาศว่ามีราคาสูงกว่ารถธรรมดาไม่เกินคันละ 65,000 บาท

Insight-รถยนต์ไฮบริดรุ่นแรกของ บริษัทฮอนด้า


จากความนิยมรถไฮบริดที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากมาตรการส่งเสริมต่างๆ ที่เกิดจากแรงกดดันที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคขนส่ง เช่น การลดภาษี ทำให้บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ทั่วโลกหลายแห่งได้หันมาพัฒนาและผลิตรถไฮบริด โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนารถไฮบริดที่ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นและราคาถูกลง

รถปลั๊กอินไฮบริด (Plug-In Hybrid Cars)

รถปลั๊กอินไฮบริด คือรถไฮบริดที่เก็บพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ได้มากขึ้น (ซึ่งต้องจุพลังงานได้มากขึ้นกว่าเดิม) ก่อนออก

เดินทาง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวเป็นระยะทางมากขึ้นถึง 20-80 กม. เพื่อให้การใช้น้ำมันลดลงเมื่อเทียบกับรถไฮบริดในภาพรวม รถปลั๊กอินไฮบริดสะสมพลังงานตอนกลางคืนขณะที่พลังงานไฟฟ้ามีราคาถูกโดยชาร์จไฟฟ้าบ้าน

รถปลั๊กอินไฮบริดมีศักยภาพที่จะลดการใช้น้ำมันลงถึง 70% และคาดว่าจะออกสู่ตลาดภายใน 2 ปี พัฒนาการของรถปลั๊กอินไฮบริดขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่จะต้องสามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นและราคาถูกลง บริษัทโตโยต้าและ GM ประกาศว่าจะเริ่มขายรถปลั๊กอินไฮบริดในปี 2009

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) จะมีส่วนแบ่งของตลาดรถยนต์กว่า 25% ในปี 2030 และประมาณ 60% ในปี 2050 ซึ่งคาดว่าจะมีตลาดใหม่ถึงปีละ 200 ล้านคัน

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Cars)

     การเกิดสภาวะโลกร้อนทำให้ต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่ง จากพัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนได้มากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าในอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนได้ไม่เกิน 25 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

     จากพัฒนาการของเทคโนโลยีลิเทียมไอออนทำให้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเท่ากัน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระยะขับเคลื่อนถึง 500 กม.

     แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีราคาแพงมาก คือมีราคาถึง USD 1000 ต่อ กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระยะขับเคลื่อนมากจะมีราคาแพงมาก แต่เป็นที่คาดกันว่าราคาของลิเทียมไอออนแบตเตอรี่จะลดลงเหลือเพียง USD 300 ต่อ kWh ภายใน 15 ปี จากการวิจัยและพัฒนาและการผลิตจำนวนมาก ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกน่าจะมีระยะขับเคลื่อนระดับปานกลาง 100-150 กม. เพื่อรักษาระดับราคารถไม่ให้สูง ในระยะนี้การเพิ่มระยะขับเคลื่อนอาจทำได้โดยการตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่ขึ้นเพื่อให้บริการผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า มีรายงานว่าประเทศอิสราเอลและเดนมาร์ก เริ่มวางแผนที่จะจัดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่จำนวนมาก เพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

    บริษัทรถยนต์หลายแห่งกำลังผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทมิตซูบิชิ ซึ่งใช้ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่และขับเคลื่อนได้ 130 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้งจะออกสู่ตลาดในปี 2009 ด้วยราคา USD 25,000-USD 30,000 การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งให้เต็มต้องใช้เวลากว่า 10 ชม. แต่ขณะนี้บริษัทมิตซูบิชิได้พัฒนาเทคโนโลยีชาร์จแบตเตอรี่ที่ชาร์จได้เร็วขึ้นมาก โดยสามารถชาร์จไฟฟ้าได้ 80% ของความจุสูงสุดของแบตเตอรี่ภายใน 30 นาที



รถยนต์ไฟฟ้าของมิตซูบิชิ (IMiEV) ซึ่งใช้ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่

ข้อได้เปรียบในเชิงประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้า

   ข้อได้เปรียบของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ ระบบแบตเตอรี่-มอเตอร์ไฟฟ้า มีประสิทธิภาพสูงกว่า ระบบน้ำมัน-เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในถึงประมาณ 3 เท่า รถยนต์ไฟฟ้าขนาดมาตรฐานจะใช้พลังไฟฟ้าประมาณ 0.16 กิโลวัตต์-ชม. ต่อ 1 กม. หรือประมาณ 0.50 บาท/กม. ซึ่งต่ำกว่าการใช้น้ำมันมาก และหากชาร์จไฟฟ้าในเวลากลางคืน ราคาพลังงานไฟฟ้าจะต่ำกว่านี้


   กรอบเวลาที่รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะยาวรถยนต์ไฟฟ้าจะมีระยะขับเคลื่อนเท่ากับรถใช้น้ำมันในปัจจุบันเนื่องจากแบตเตอรี่จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


แนวโน้มของรถยนต์ในอนาคต

  ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเภทของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลน้อยลงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้เริ่มกำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าซ CO2 ของรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น EU ได้กำหนดค่าสูงสุดของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ใน EU ในปี 2012 ไว้ที่ 130 กรัม/กม. ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในปัจจุบันคือ 158 กรัม/กม. ข้อกำหนดเช่นนี้มีส่วนผลักดันให้บริษัทรถยนต์ต้องพัฒนารถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า

   ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเชื่อว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลแบบธรรมดาจะลดลงและหายไปใน 20 ปีข้างหน้า โดยถูกแทนที่ด้วย รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า(หรือรถเซลล์เชื้อเพลิง) รถยนต์ประสิทธิภาพสูง (ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลขั้นสูง และส่วนประกอบอื่นๆ ที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพให้สูงขึ้น)

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเชื่อกันว่าในระยะยาวรถยนต์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในเมืองใหญ่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ประวัติความเป็นมาของเครื่องยนต์






   การที่ปัจจุบันเราจะได้อาศัยยานพาหนะ
เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวก
แก่คนเราทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากแนวคิดนตนาการ ความสามารถของมนุษยที่มีวิวัฒนาการความคิดในการ
ประดิษฐ์สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้กลายเป็นรูปธรรม
โดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ บุคคลเหล่านั้น
คือนักวิทยาศาสตร์
เครื่องจักร เครื่องยนต์ต่าง ๆ ซึ่งกว่าจะมาเป็นรถยนต์
จักรยานยนต์ และเครื่องจักรย่อมมีวิวัฒนาการประวัติ
ความเป็นมาที่ยาวนาน   ดังนี้
 - ค.ศ. 1794 ( พ.ศ. 2337) โรเบริ์ต สตรีท ( Robert Street ) ชาวอังกฤษสร้างเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเครื่องแรก
- ค.ศ. 1824( พ.ศ. 2367) ซาดี คาร์โน ( Sadi Carnot) ค้นคว้าเพิ่มเติมของสตรีทให้ดียิ่งขึ้น
- ค.ศ. 1862( พ.ศ. 2405) โปเดอร์ โรชา( Beau De Rochas)ชาวฝรั่งเศส ได้พิมพ์เอกสารหลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะเป็นครั้งแรก
โดยเน้นหลักการต่อไปนี้
1.)การอัดตัวของส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศสูงสุดที่จุด
เริ่มต้นของการขยายตัวเท่าที่จะเป็นไปได้
2.) การขยายตัวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3.) การขยายตัวรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4.) ปริมาตรความจุของกระบอกสูบมากที่สุด โดยมี
พื้นที่ระบายความร้อนน้อยที่สุด     
 - ค.ศ. 1872( พ.ศ. 2415) เบรย์ตัน ( Brayton) ชาวเยอรมันนี ได้พัฒนาเครื่องยนต์สามารถใชพาราฟิน และน้ำมันปิโตเลียมหนักเป็นเชื้อเพลิง          
 - ค.ศ. 1876( พ.ศ. 2419) ดร.ออตโต( Dr.N.A.Auto) ชาวเยอรมันนีสร้างเครื่องยนต์ 4 จังหวะตาหลักการของโรชาและปรับปรุงให้มีประสิทธฺภาพสูงขึ้น ได้มีการประดิษฐ์ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังของตัวเองมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ผลสำเร็จของการประดิษฐ์ เกิดขึ้นในปี 1876 นี้เอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 ( พ.ศ. 2422) มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากเกิดขึ้นในเยอรมัน เมื่อ เดทเลอร์ ( Gottlieb Daimler)และเบนซ์ ( Carl Benz) ทำงานร่วมกับมาย บัค ( Maybach) ได้ประดิษฐ์ เครื่องยนต์เครื่องแรก ปี ค.ศ. 1883 ( พ.ศ. 2425) โดยเครื่องยนต์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นนี้มีความเร็วรอบมากกว่าของออตโต ถึง 4 เท่าคือความเร็วเท่ากับ 900 รอบต่อนาที
- ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2425) ผลิตเครื่องยนต์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นนี้มีความเร็วรอบมากกว่าของ ออตโต ถึง 4 เท่า คือความเร็วเท่ากับ 900 รอบต่อนาที
- ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2426) เดมเลอร์ติดตั้งเครื่องยนต์ แรงม้าบนรถจักรยานยนต์
- ค.ศ.1881(พ.ศ.2423) เซอร์ดูกาล์ดเคลิก( Sir Dugalald Clerk) ชาวอังกฤษประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ
- ค.ศ.1892(พ.ศ.2435) ดร. รูดอร์ฟ ดีเซล( Dr.Rudolf Diesel) ชาวเยอรมันนีสร้างเครื่องยนต์ดีเซโดยมีการนำเอาอัดอากาศร้อนแล้วฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปเผาไหม้แล้วเกิดความร้อนและความดัน ดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนีโต และหัวเทียนมาใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
- ค.ศ.1892(พ.ศ.2435) มีการนำเอาระบบจุดระเบิดด้วยแมกนีโต และหัวเทียนมาใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
- ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) มายบัค ประดิษฐ์คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ระบบนมหนู
- ค.ศ. 1894 (พ.ศ. 2437) เบนซ์ประดิษฐ์เครื่องยนต์ 2 แรงม้า
- ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) พันนาร์ด ( Pannard) ได้สร้างรถแบบปิดขึ้น และพี่น้องมิชลิน ได้ผลิตยางแบบเติมลมสำเร็จ
- ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) มอร์ ( Mors ) ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตเครื่องยนต์ 8 สูบ ( V- 8)แกรฟ และสตีฟ แห่งออสเตรียได้ผลิตรถยนต์แก๊สโซลีนขับเคลื่อนล้อหน้า
- ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) เดมเลอร์ผลิตเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง
- ค.ศ. 1899 (พ.ศ. 2442) เดมเลอร์ผลิตหม้อน้ำ เกียร์ และการเร่งด้วยเท้าเรโนลท์แห่งฝรั่งเศส ได้ผลิตเพลาโดยมีข้อต่ออ่อนได้
- ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444) เดมเลอร์ ผลิตรถเบนซ์ขึ้น จัดได้ว่าเป็นเครื่องยนต์สมัยใหม่เครื่องแรก
- ค.ศ. 1902 ( พ.ศ. 2445) สำปเดอร์ แห่งฮอลแลนด์ ได้ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อใช้เครื่องยนต์ 6 สูบเรียง
- ค.ศ. 1903 ( พ.ศ. 2446) แอดเลอร์แห่งเยอรมันได้จดทะเบียนเพลาท้ายอิสระซึ่งออกแบบโดย
ดร.อี รัมเพลอร์ และบอร์ ขายรถที่ติดตั้งช็คอัพเมาสเลย์ แห่งอังกฤษ ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ O.H.C. และแอดเลอร์ แห่งฝรั่งเศส ผลิตเครื่องยนต์ V 8
- ค.ศ. 1907 ( พ.ศ. 2447) อัศวิด แห่งอเมริกา ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้ซูเปอร์ชาร์ด
- ค.ศ. 1908 ( พ.ศ. 2448) ฟอร์ด ผลิตรถยนต์แบบโมเดล-ที และได้ผลิตระบบขุดระเบิดที่ใช้คอยล์
และจานจ่าย ส่วนเอร์เบอร์ต ฟรูด ชาวอังกฤษ ใช้ใยหินทำผ่าเบรก และผ้าคลัทช์
- ค.ศ. 1909 ( พ.ศ. 2449) คลิสตี้ ชาวอเมริกันติดตั้งเครื่องยนต์ 4 สูบ และเกียร์กับรถยนต์ขับล้อหน้า
- ค.ศ. 1911 ( พ.ศ. 2451) คาลิแลค แนะนำการสตาร์ด้วยไฟฟ้า และระบบไฟแสงสว่างกับไดนาโม
- ค.ศ. 1912 ( พ.ศ. 2452) เปอร์โย แนะนำเครื่องยนต์ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวคู่
- ค.ศ. 1913 ( พ.ศ. 2452) อังกฤษ ใช้คาร์บูเรเตอร์ แบบสุญญากาศคงที่ (S.U.)
- ค.ศ. 1919 ( พ.ศ. 2458) อิสปาโน ซุบซา แห่งสเปนใช้เบรกแบบช่วยเพิ่มพลัง
   หลักจากนั้นก็ได้มีนักประดิษฐ์อื่น ๆ ที่คิดประดิษฐ์ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถยนต์อีกมากมายจนทำให้เป็นรถยนต์ที่สมบูรณ์แบบในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามความ
เจริญก้าวหน้าของรถยนต์ ก็ยังไม่มีหยุดยั้งยังต้องมีผู้ประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆกับรถยนต์ ต่อไปอีก อย่างไม่หยุดยั้ง


วิวัฒนาการของรถยนต์ (Car Evolution)



วิวัฒนาการของรถยนต์

เดิน -- > ม้า ช้าง -- > เกวียน -- > รถยนต์

    สมัยโบราณเราใช้เพียงการเดินเท่านั้น ในการสัญจรไปมา หลังจากนั้นเราเริ่มมีการพัฒนามาใช้สัตว์เป็นพาหนะแทนการเดิน แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการบรรทุกสิ่งของได้ จึงได้มีการนำสัตว์มาเทียมเกวียนเพื่อให้มีความสามารถในการบรรทุกได้มากขึ้นทั้งการบรรทุกคนและสิ่งของต่างๆเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้น ทำให้มีการสร้างรถยนต์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีมากขึ้นตามลำดับ รถยนต์คันแรกสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2262 โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ นิโคลาส กูโย (Nicolas Cognot) สร้างรถยนต์ 3 ล้อขึ้นโดยที่ล้อของรถยนต์ทำมาจากเหล็ก แล่นด้วยพลังงานจากเครื่องจักรไอน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 นิโคลาส กูโย ก็ได้สร้างรถยนต์ขึ้นใหม่สำหรับบรรทุกอาวุธ ซึ่งนับได้ว่าเป็นรถยนต์คันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และในปี พ.ศ. 2436 เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ได้สร้างรถยนต์ 4 ล้อ ได้สำเร็จเป็นคนแรก วิวัฒนาการของรถยนต์มิได้หยุดเพียงแค่การสร้างพาหนะที่สามารถทำให้เราไปถึงจุดหมายได้ แต่มนุษย์ก็ได้แข่งขันกันสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาพัฒนารถยนต์ให้มีประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีขึ้นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุดเช่น

การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีสมรรถนะมากขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น

การพัฒนาเรื่องการใช้เชื้อเพลิงให้สามารถใช้เชื้อเพลิงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การพัฒนาเรื่องความปลอดภัยโดยการประดิษฐ์เข็มขัดนิรภัย เบาะที่นั่งสำหรับเด็ก ถุงลมนิรภัย

การพัฒนาเรื่องรูปลักษณ์.ที่ปราดเปรียวสวยงามมากขึ้น บ่งบอกถึงรสนิยม

การพัฒนาเรื่องการขับขี่ที่อำนวยความสะดวกให้ขับได้ง่ายขึ้น โดยการสร้างเกียร์อัตโนมัติ การปรับกระจกด้านหน้าให้มีทัศนวิสัยที่ดีขึ้น กระจกไล่ฝ้า

   ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาไปจนถึงการใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยการผสมผสานการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้ก็คงจะมีการพัฒนารถยนต์ที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นระบบอัตโนมัติสามารถขับเคลื่อนได้เองโดยที่ไม่ต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ควบคุม

  ส่วนเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำ การใช้ลม การใช้ Hydrogen ก็คงต้องรอให้มีการปรับปรุงให้มีการใช้งานได้อย่างจริงจังและลดต้นทุนลงมากกว่านี้










2 ความคิดเห็น: